ตะไคร้หอม.. สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งใช้กันยุง


ตะไคร้หอม.. สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งใช้กันยุง โดยเป็นอีกกลิ่นหนึ่ง
ที่ได้รับความนิยม ตะไคร้หอม เป็นพืชสมุนไพร ที่ลักษณะทั่วไปดูเหมือนกับตะไคร้ที่ใช้ทำอาหารทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ ของ ตะไคร้หอม คือ Cymbopogon nardus Rendle
วงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)
ชื่อท้องถิ่น ตะไคร้แดง จะไคมะขูด ตะไครมะขูด
ลักษณะพืช พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอ ใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ กว้าง 5-20 มม. ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอม ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ.. มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออกมา ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้นดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม. มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้งไม่แตกตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมากแผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อยการปลูก ใช้หน่อหรือเหง้าชอบขึ้นในดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง ชอบแดดมากส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและกาบใบ

สรรพคุณ
สมุนไพร ยาไทย ต้นแก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหง เป็นแผลในปาก) สตรีมีครรภ์รับประทาน
ทำให้แท้ง บีบรัดมดลูก ขับลมในลำใส้ แก้แน่น ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง
อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์
(70%) 93 ส่วน ฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตู
ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม
มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ใบและกาบใบมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมี Geraniol และ Citronellal
เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ในการไล่แมลง.. โดยเฉพาะ กันยุง จากการวิจัยพบว่า
ทั้งต้นใช้กันยุงได้ ปัจจุบันจึงมีผู้สะกัด เอาสมุนไพรชนิดนี้มาทำเป็น โลชั่นกันยุง บ้าง
น้ำมันหอมระเหย กลิ่นตะไคร้ ไล่ยุง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ตะไคร้หอมที่นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยมี 2 ชนิดคือ
Lenabuta เป็นพันธุ์ที่ได้มาจากประเทศลังกา
และอีกชนิดคือ Mahapengiri เป็นพันธุ์ที่ได้จากประเทศอินโดนีเซีย บริเวณเกาะชวา
ปัจจุบันมีการปลูกแพร่หลายเข้าไปในหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน ประเทศในอเมริกาใต้
เป็นต้น ตะไคร้หอมที่ได้จากชวาจะมีสาร geraniol, citronellal มี aldehyde
และ total alcohol ไม่น้อยว่า 35 % เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี acetylation
เป็นผลให้น้ำมันที่ได้จากตะไคร้หอมชนิดชวามีคุณภาพดีกว่าชนิดลังกา
ในประเทศไทยมีการนำเข้ามาปลูกนานแล้วผู้ที่นำเข้ามาคือคุณหลวงมิตรธรรมพิทักษ์
โดยนำเข้ามาจาก อินเดียและนำไปปลูกที่อ.สัตหีบ จ.ชลบุรีเป็นที่แรก
ปัจจุบันมีการนำไปปลูกทั่วประเทศ

ขอบคุณ thaiherbals.herbshealthbenefits.com

เรื่องต่อไป
« โพสก่อนหน้า
เรื่องก่อนหน้า
โพสต่อไป »