สมุนไพร ควรรู้



มาปลูกพืชสมุนไพรกันดีไหม สมุนไพรน่ารู้ น่าใช้
       อาการเจ็บไข้ได้ป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ..หากมาเยือนท่านและครอบครัว เราสามารถที่จะพึ่งพาพืชสมุนไพรได้ และพืชสมุนไพรบางชนิดเราไม่จำเป็นต้องไปซื้อหา ท่านสามารถหามาปลูกไว้ในบ้านได้ นอกจากประโยชน์ในการรักษาโรคแล้วบางชนิดยังใช้ประกอบอาหาร และตกแต่งสวนให้ความสวยงามไม่แพ้ไม้ประดับอื่น ๆ เลย ท่านที่มีที่ดินแม้เพียงเล็กน้อย.. หรือท่านที่ไม่มีที่ขอเพียงใช้กระถางก็เพียงพอกับการปลูกสมุนไพรได้ เช่นกัน ขอเพียงเลือกชนิดที่เหมาะสมกับที่ดิน สภาพแวดล้อมและความชำนาญในการปลูกเท่านั้น ..ท่านจะไม่ลองมองหาสมุนไพรซักชนิดมาปลูกในบ้านหรืออย่างไร?
สมุนไพรที่ อยากแนะนำให้มีประจำบ้านชนิดแรกคือ ว่านหางจระเข้ สมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย คือใช้ใบของมันปอกเปลือกออกเหลือแต่วุ้น ...ล้างยางออกแล้วใช้ประคบแผลโดนไฟ หรือน้ำร้อนลวกได้เป็นอย่างดี แผลจะไม่พองอย่างน่าประหลาด แม่บ้านสมควรปลูกใส่กระถางดินร่วนปนทรายไว้ใกล้ ๆ ครัว ซึ่งอาจต้องใช้ บ่อย ๆ

กล้วยเป็นพืชที่มีประโยชน์มหาศาล.. ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ใบ, ผล, ลำต้น, ปลี, หรือกระทั่งก้านกล้วย ผลมีสรรพคุณทางยามาก ผลอ่อนมีรดฝาดใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ผลสุกของกล้วยเช่น กล้วยน้ำว้า เป็นยาระบาย และยังเป็นอาหารอ่อนสำหรับคนป่วย คนชรา และเด็กเล็ก ผลกล้วยหอมมีแร่ธาตุสูงเหมาะสำหรับนักกีฬาและผู้ที่เสียเหงื่อมาก. กล้วยปลูกง่ายขึ้นได้แทบทุกสภาพดิน ชอบดินร่วน ต้นกล้วยให้ร่มเงาดีและใบไม่ร่วงปลิวสกปรก ...กล้วยบางชนิดถือเป็นไม้มงคลปลูกในบ้านจะดีเช่น “กล้วยน้ำไท” เป็นต้น

สมุนไพรที่ควรปลูกหลังครัวอีกชนิดหนึ่งคือ กระเพรา กระเพราปลูกได้ง่าย เพียงแค่เอาต้นที่เหลือจากการทำอาหารมาชำลงในกระถาง ดินร่วนปนทราย กระเพราก็สามารถงอกได้ กระเพรามีฤทธิ์ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำอาหารได้หลายชนิด กระเพรามีทั้งชนิดก้านขาว และก้านแดง ใช้ได้ดีทั้งคู่และแม่บ้านพ่อบ้านอาจปลูกโหระพาคู่กันไปเพราะปลูกง่าย คล้ายกระเพรา ปลูกรวม ๆ กันใกล้มือเก็บไปใช้ได้ทุกเมื่อ
ท่านที่มีสระน้ำในบ้าน ขิง ข่า .เหมาะที่สุดที่จะปลูกไว้ริมน้ำ นอกจากจะเป็นต้นไม้ที่สวยงามทั้งใบและดอกแล้ว ขิง ข่า ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง มีฤทธิ์แก้ท้องอืด ขับลมให้ผลดี สามารถขุดไปใช้ได้ทั้งเหง้าอ่อนและแก่ .ต้นที่เหลือจะสามารถแตกออกใหม่ได้เรื่อย ๆ
ต้นไม้ล้มลุกที่เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณดีคือ ฟ้าทะลายโจร เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก แตกเป็นพุ่มโปร่ง ลำต้นสี่เหลี่ยมมีดอกสีขาวเล็ก.. ปลูกเป็นพุ่มตามริมทางเดินหรือในสวนให้ความสวยงามน่ารักไม่น้อย ฟ้าทะลายโจรมีรสขมจัด.. ตั้งแต่ใบจนถึงลำต้น ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำดี โดยเฉพาะผู้ที่เป็นแผลร้อนในในปากเป็นประจำ กินแบบตากแห้ง เคี้ยวกลืน หรือใช้ลำต้นหรือใบสด แห้ง ต้มดื่มกับน้ำสะอาดก็ได้ จะได้ผลดีมากทำให้แผลหายเร็ว
ในช่วงที่มี..ฝนตกบ่อยๆ เช่นนี้ หรือคนอาจเป็นไข้หวัด เจ็บคอ มีเสมหะ ผักพื้นบ้านฤดูฝนที่อยากแนะนำในที่นี้ก็คือชะพลู หรือช้าพลู
ชะพลูเป็นพืชล้มลุก มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ ชนิดเถา และชนิดเลื้อย เป็นพืชที่ชอบที่ชุ่มชื้น มีร่มเงา กอหนึ่งๆ มีความสูงประมาณ 1 ฟุต จึงเหมาะที่จะปลูกเป็นพืชคลุมดินใต้ต้นไม้ใหญ่ได้
ในการแพทย์แผนไทย ชะพลูเป็นพืชสมุนไพรหลักที่นิยมใช้กันมาก “รากชะพลูแก้คูถเสมหะ (ขับเสมหะออกทางอุจจาระ) ต้นแก้อุระเสมหะ (เสมหะในทรวงอก) ลูกขับศอเสมหะ (เสมหะในลำคอ) ใบทำให้เสมหะงวดและแห้งเข้า แก้ธาตุพิการ บำรุงธาต”
ชะพลูเป็นผักที่ใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น ใบอ่อนและยอดใช้กินสด เป็นผักจิ้มน้พริก หรือห่อเมื่ยงคำ (เมี่ยงคำเอก็เป็นอาหารบำรุงธาตุชนิดหนึ่ง) หรือทำข้าวยำ ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านภาคใต้ แต่ที่อร่อยไม่แพ้กันก็คือแกงกะทิใบ่อ่อนชะพลูกับกุ้งหรือหอย
แต่มีข้อควรระวังนิดหนึ่งก็คือใบชะพลูจะมีสารออกซาเลท (oxalate) ค่อนข้างสูง จึงควรปรุงร่วมกับเนื้อสัตว์ และไม่ควรบริโภค..บ่อยเป็นประจำ เพราะสารออกซาเลทนี้ เมื่อรวมกับแคลเซียมแล้วจะกลายเป็นแคลเซี่ยมออกซาเลท ..มักจะไม่ละลายในอะไรทั้งสิ้น และจะขัดขวางการดูดซึมของอาหารอื่นๆ ด้วย
มะระขี้นก หรือผักไห่ เป็นผักพื้นบ้านไทยที่เป็นที่นิยมของผู้ชื่นชอบกินน้ำพริก เพราะผลอ่อนมะระขี้นกเป็นผักจิ้มน้ำพริกที่อร่อยไม่แพ้ยอดฟัทองลวกกระทิเลย
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวว่า สารบางอย่างในมะระขี้นกอาจจะเป็นยารักษาโรคเอดส์ได้ ทำให้มะระขี้นกกลายเป็นผักยอดฮิตในตลาดขึ้นมาทันที
ในตำรายาไทย มะระขี้นกมีรสขม เป็นยาเจริญอาหาร ระบาย แก้ไข้ แก้โรคลม บำรุงน้ำดี แก้โรคของม้ามและตับ ส่วนการแพทย์พื้นบ้านในเอเชียเชื่อว่า มะระมีพลังความเย็น ซึ่งมีสรรพคุณขับพิษ ช่วยฟอกเลือดบำรุงตับ มีผลดีต่อสายตา และผิวหนัง ในทางการแพทย์สมัยใหม่ก็พบว่ามะระช่วยลดน้ำตาลในเลือดจึงอาจใช้รักษาโรคเบา หวานได้
มะระกินได้ทั้งยอดอ่อน ใบอ่อน และผลอ่อน ไม่ค่อยนิยมกินสด เพราะมีรสขม แต่จะใช้วิธีการนึ่ง หรือลวกให้สุก
ผลมะระขี้นก 100 กรัม มีเส้นใย 12 กรัม, แคลเซียม 3 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 5 มิลลิกรัม, เหล็ก 0.2 มิลลิกรัม, วิตามินเอ 2924 IU นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 1, วิตามินบี 2, ไนอาซิน และวิตามินซีอีกด้วย
พริกไทยได้ชื่อว่าเป็นราคาแห่งเครื่องเทศ อาจจะเป็นเพราะอาหารของคนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างก็มีพริกไทยผสมอยู่ บางท่านกล่าวว่าการล่าอาณานิคมของฝรั่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ก็เพราะในเขตนี้เป็นเขตที่มีการปลูกพริกไทยและเครื่องเทศ ซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวตะวันตกกันมาก
พริกไทยดำและพริกไทยขาวต่างกันตรงที่พริกไทยขาวนั้นคือพริกไทยที่มีการกระ เทาะเปลือกออก (และโดยส่วนใหญ่จะมีการใช้สารฟอกขาว เพื่อทำให้พริกไทยขาวมีสีขาวนวลขึ้น) แต่ที่จริงแล้วพริกไทยดำจะมีรสเผ็ดและหอมกว่าพริกไทยขาวมากนัก
พริกไทยช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ ขับเสมหะ หอบ ไอ สะอึก เป็นยาบำรุงธาตุ นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยว่า พริกไทยมีสารสำคัญพวกฟีนอลิกส์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์อันจะช่วยต้านสารก่อมะเร็งในอาหาร.. ได้ โดยสารนี้มีประสิทธิภาพดีกว่าสารสังเคราะห์ BHA และ BHT ด้วย
ในช่วงต้นฤดูฝนเป็นช่วงที่ผักพื้นบ้านต่างแตกกิ่งผลิใบมากมาย แต่ถ้าพูดถึงผักพื้นบ้านที่เป็นทั้งอาหาร ยา และมีประโยชน์ใช้สอยสารพัดแล้วละก็ “ชะมวง” เป็นต้นไม้ที่น่าสนใจชนิดหนึ่ง
คนส่วนใหญ่รูจักชะมวงจาก.. “แกงหมูชะมวง” ที่ถือว่าเป็นอาหารอันเลื่องชื่อที่สุดของคนภาคตะวันออกแต่ที่จริงต้นชะมวง เป็นไม้ที่พบได้ในป่าร้อนชื้นทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ตะวันออก กลาง และ ภาคใต้ ชาวใต้ใช้ผลและใบแต่ของชะมวงมาหมักทำเป็นน้ำกรด สำหรับฟอกหนังก่อนแกะสลักทำตัวหนังตะลุง ส่วนเปลือกและยางสามารถใช้ย้อมผ้าเป็นสีเหลืองได้
ใบและผลชะมวงมีรสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ ช่วยระบายท้อง ในใบชะมวง 100 กรัม จะให้พลังงาน 51 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 3.2 กรัม แคลเซียม 27 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม
นอกจากแกง เช่น แกงหมูใบชะมวง หรือแกงเนื้อแล้ว ใบชะมวงยังสามารถใช้ปรุงรสเปรี้ยวในการทำอาหาร เช่น ต้มส้มปลา หรืออาจใช้ยอดอ่อนใส่แกงอ่อม รวมทั้งกินเป็นผักสดก็ได้
เมื่ออากาศร้อนมากจนหลายคนมีอาการร้อนใน กระหายน้ำ ท้องผูก ปัสสาวะน้อย วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ทั้งนี้ ตามตำราการแพทย์แผนไทยระบุว่า เกิดจากธาตุไฟกำเริบ เพราะความร้อนจากภายนอกมากระทบร่างกาย อาหารที่เหมาะสมในการป้องกันโรคภัยเหล่านี้ก็คือ อาหารรสขม เย็น เปรี้ยว และจืด มะอึกเป็นพืชตระกูลมะเขือ... ซึ่งมีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่อยู่ในตระกูลนี้ เช่น มะแว้ง และมะเขือทั้งหลาย
รากมะอึกมีรสเย็น และรสเปรี้ยวเล็กน้อย มีสรรพคุณแก้ไขสันนิบาต น้ำลายเหนียว ฟอกเสมหะ กระทุ้งพิษ และดับพิษร้อนภายใน นอกจากนี้ ขนมะอึกยังเป็นยาถ่ายพยาธิได้ด้วย โดยชาวบ้านจะนำขนของลูกมะอึกมาทอดกับไข่ให้เด็กกิน
ผลมะอึกมีรสเปรี้ยวเย็น อมขื่นเล็กน้อย ชาวบ้านนิยมบริโภคเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือใช้ผลสุกจัดซึ่งมีรสเปรี้ยวมาตำใส่น้ำพริก แกงส้ม และส้มตำ (แต่ต้องขูดขนออกให้หมดเสียก่อน)
สะเดาเป็นไม้พื้นบ้านเขตเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้ แทบทุกส่วนของต้นสะเดาเป็นอาหารและสมุนไพร.. เช่น..
เปลือกต้น รสฝานสมาน แก้ท้องเดิน แก้บิดมูกเลือด
ราก แก้ไข้ ทำให้อาเจียน
ใบ แก้ไข้ทุกชนิด บำรุงธาตุ
ดอก บำรุงธาตุ
ผลใช้ถ่ายพยาธิ.. แก้ริดสีดวง แก้ลมเจริญอาหาร แก้ปัสสาวะพิการ
คนไทยนิยมบริโภค สะเดาเป็นผัก ดดยดอกและยอดอ่อนนำมาลวก ปิ้งไฟ ต้มให้สุก ใช้จิ้มน้ำพริก หรือบริโภคเป็นสะเดาน้ำปลาหวานยอดอ่อนและดอกสะเดามีรสขมจัด เป็นสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการไข้ ลดความร้อนทำให้เจริญอาหาร.. ยอดสะเดา 100 กรัม ให้พลังงาน 76 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 2.2 กรัม, มีแคลเซียม 354 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม, เหล็ก 4.6 มิลลิกรัม, เบต้าแคโรทีน 3,611 ไมโครกรัม ตลอดจนวิตามินบี 1, บี 2 และ วิตามินซี

เรื่องต่อไป
« โพสก่อนหน้า
เรื่องก่อนหน้า
โพสต่อไป »